Friday, December 12, 2014

ประวัติของมังงะ

มังงะ (「漫画」, manga, 漫画?) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น ประวัติ คำว่า มังงะ แปลตรงตัวว่า "ภาพตามอารมณ์" ถูกใช้อย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรกหลังจากจิตรกรอุคิโยเอะชื่อโฮคุไซตีพิมพ์หนังสือชื่อโฮคุไซมังงะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเห็นว่ามังงะอาจมีประวัติยาวนานกว่านั้น โดยมีหลักฐานคือภาพจิกะ (แปลตรงตัวว่า "ภาพตลก") ซึ่งเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 12 มีลักษณะหลายประการคล้ายคลึงกับมังงะในปัจจุบัน อาทิ การเน้นเนื้อเรื่อง และการใช้เส้นที่เรียบง่ายแต่สละสลวย เป็นต้น มังงะพัฒนามาจากการผสมผสานศิลปะการวาดภาพแบบอุคิโยเอะกับจิตรกรรมตะวันตก ความพยายามของญี่ปุ่นที่จะพัฒนาตัวเองให้ทันกับมหาอำนาจตะวันตกในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ผลักดันให้ญี่ปุ่นนำเข้าวัฒนธรรมตะวันตกหลายๆ รูปแบบ รวมทั้งการจ้างศิลปินตะวันตกมาสอนศิลปินญี่ปุ่นเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ เช่น เส้น รูปทรง และสี ซึ่งการวาดภาพแบบอุคิโยเอะไม่ให้ความสำคัญเนื่องจากคิดว่าความรู้สึกโดยรวมของภาพสำคัญกว่า อย่างไรก็ดี มังงะที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองหลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นถูกสหรัฐอเมริกาบังคับให้เปิดเสรีภาพแก่สื่อมวลชน ในศตวรรษที่ 21 คำว่ามังงะเปลี่ยนความหมายเดิมมาหมายถึงหนังสือการ์ตูน อย่างไรก็ดีคนญี่ปุ่นมักใช้คำนี้เรียกหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็ก ส่วนหนังสือการ์ตูนทั่วไปใช้คำว่า コミックス (คอมิกส์) ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ของ comics ในภาษาอังกฤษ ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ มังงะ (manga) ถูกใช้เรียกหนังสือการ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่น



ส่วนในประเทศไทยการใช้คำว่ามังงะยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก มังงะมีความสำคัญวัฒนธรรมญี่ปุ่นและได้รับการยอมรับจากคนญี่ปุ่นว่าเป็นวิจิตรศิลป์และวรรณกรรมรูปแบบหนึ่ง มังงะในปัจจุบันถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มอนุรักษ์นิยมทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศอย่างกว้างขวางว่ามีความรุนแรงและเนื้อหาทางเพศปะปนอยู่มาก อย่างไรก็ดี ประเทศญี่ปุ่นก็ยังไม่มีกฎหมายจัดระเบียบมังงะ เว้นแต่กฎหมายคลุมเครือฉบับหนึ่งที่กล่าวทำนองว่า "ห้ามผู้ใดจัดจำหน่ายสื่อที่ขัดต่อความดีงามของสังคมจนเกินไป" เท่านั้น นักวาดการ์ตูนในญี่ปุ่นจีงมีเสรีภาพที่จะเขียนมังงะที่มีเนื้อหาทุกแนวสำหรับผู้อ่านทุกกลุ่ม ปี 2460 ความหมายของคำว่า "มังงะ" เปลี่ยนเป็น "หนังสือการ์ตูน" แต่คนญี่ปุ่นมักใช้คำนี้เรียกหนังสือการ์ตูนของคนญี่ปุ่นสำหรับเด็ก ส่วนหนังสือจากฝั่งตะวันออกใช้คำว่า "คอม มิกส์" ซึ่งเป็นทับศัพท์มาจาก comics ในภาษาอังกฤษ มังงะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามลักษณะของผู้อ่าน ได้แก่ เด็ก เด็กวัยรุ่นหญิง (โชโจะ) เด็กวัยรุ่นชาย (โชเน็น) ผู้หญิง (โจะเซ) และผู้ชาย (เซเน็น) โดยแต่ละประเภทจะมีหน้าปกต่างกัน และไม่วางขายบนชั้นหนังสือเดียวกัน ทำให้ผู้อ่านทราบหมวดหมู่ของแต่ละประเภทอย่างชัดเจน


ลักษณะของมังงะ ส่วนใหญ่จะเน้นเส้นมากกว่ารูปทรง และการให้แสงเงา การจัดช่องภาพจะไม่ตายตัวเหมือนการ์ตูนสี่ช่องหรือการ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์ จุดเด่นอีกประการคือตัวละครมังงะมีนัยน์ตาใหญ่เกินจริง เกิดจากไอเดียของนายโอซามุ เทซุกะ ผู้เขียนเรื่องแอสโตรบอย (เจ้าหนูปรมาณู) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของมังงะในปัจจุบัน โดยได้ความคิดมาจากตัวการ์ตูนของดิสนีย์ ปัญหาอย่างหนึ่งของมังงะคือต้นฉบับมักเขียนและอ่านจากขวาไปซ้าย เป็นวัฒนธรรม การอ่านของชาวญี่ปุ่น เมื่อนำมาเผยแพร่ในประเทศอื่นจึงมีการเปลี่ยนรูปแบบเป็นอ่านจากซ้ายไปขวา ซึ่งทำให้นักเขียนการ์ตูนรวมทั้งนักอ่านหลายคนไม่พอใจ ดังนั้นปัจจุบันสำนักพิมพ์หลายแห่งในต่างประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) จึงตีพิมพ์มังงะให้อ่านจากขวาไปซ้ายตามต้นฉบับเดิม มังงะมีความสำคัญต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่น และเป็นที่ยอมรับจากคนญี่ปุ่นว่าเป็นวิจิตรศิลป์และวรรณกรรมรูปแบบหนึ่ง แต่ปัจจุบัน กลุ่มอนุรักษนิยมทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศวิพากษ์วิจารณ์มังงะอย่างกว้างขวางว่ามีความรุนแรงและเนื้อหาทางเพศปะปนอยู่มาก ญี่ปุ่นยังไม่มีกฎหมายจัดระเบียบมังงะ เว้นแต่กฎหมายคลุมเครือฉบับหนึ่งที่กล่าวทำนองว่า "ห้ามผู้ใดจัดจำหน่ายสื่อที่ขัดต่อความดีงามของสังคมจนเกินไป" เท่านั้น นักวาดการ์ตูนในญี่ปุ่นจึงมีเสรีภาพที่จะเขียนมังงะที่มีเนื้อหาทุกแนวสำหรับผู้อ่านทุกกลุ่ม สำหรับประเทศไทย มังงะเริ่มเข้ามาช่วงปี 2536-2538 เมื่อเวลาผ่านไปจึงเริ่มมีบริษัทซื้อลิขสิทธิ์และนำมาตีพิมพ์อย่างถูกกฎหมายมากขึ้น ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้น แปลกใหม่ทำให้มังงะครองใจชาวไทยโดยเฉพาะเด็กๆ ได้อย่างอยู่หมัด ส่งผลให้ปัจจุบันมีบริษัทผลิตมังงะใหญ่น้อยเข้ามาแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น มังงะที่คนไทยรู้จัก ได้แก่ โดราเอมอน ดราก้อนบอล เซนต์เซย่า โคนันนักสืบรุ่นจิ๋ว ซึบาสะ วุ่นรักนักดนตรี ฯลฯ นอกจากนี้ยังนำมังงะไปดัดแปลงเป็นการ์ตูนเคลื่อนไหวทางโทรทัศน์ที่เรียกว่า "อนิเมะ" อีกด้วย เครดิต http://webboard.yenta4.com/topic/403575 http://www.thaigoodview.com/node/9058

No comments:

Post a Comment